บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย

แต่งบ้าน

สารบัญ

ถ้าเราพูดถึงบ้าน ทรงไทย หรือ บ้านเรือนไทย ก็เชื่อว่ามีคนไทยหลาย ๆ คนที่รู้จักและเคยพบเคยเห็น หรือ บ้างก็เคยนอนเลยเคยอาศัยอยู่ในบ้านรูปแบบนี้กันมาบ้างแล้ว เป็นบ้านเรือนของคนไทยในรูปแบบโบราณที่จะใช้เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงกับหลังคาจั่วเป็นจุดเด่นและเอกลักษณ์ แต่เคยสังเกตกันไหมครับว่าเวลาที่เราไปในสถานที่ที่แตกต่างกัน เราก็มักจะพบบ้านทรงไทยที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งในวันนี้เราก็จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับบ้านเรือนไทยผ่าน บทความ บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย เรื่องนี้กันครับ ว่าแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยนั้นเขามีการสร้างบ้านทรงไทยต่างกันอย่างไรบ้าง และ บ้านทรงไทยจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้างถึงจะเรียกว่าบ้านทรงไทยได้ 

บ้านเรือนไทย 

บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย1
  • เคยสงสัยกันไหมครับว่าบ้านเรือนไทยแต่ละที่ทำไมถึงมีรายละเอียดที่ค่อนข้างแตกต่างกัน สำหรับบ้านเรือนไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ได้มีการจัดแบ่งประเภทออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ เป็น 4 ภูมิภาคหลัก ๆ คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และ ภาคใต้ โดยแต่ละที่นั้นก็จะมีรูปร่างลักษณะความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป เพราะในแต่บะสถานที่ของประเทศไทยนั้น จะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และ คนแต่ละพื้นที่ก็มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ทำให้บ้านเรือนไทยของแต่ละที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับความสะดวกสบายของผู้คนแต่ละภาคมากที่สุด และก่อนจะไปดูส่วนอื่น ๆ เราไปดูเอกลักษณ์ของบ้านเรือนไทยทั้งหมดกัน 
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย2
  1. มีหลังคาทรงจั่ว คือลักษณะเด่นของบ้านทรงไทยที่ไม่มีไม่ได้ เพราะถ้าไม่ใช้หลังคารูปทรงนี้ก็จะไม่ถูกนับว่าเป็นบ้านทรงไทย สำหรับหลังคาทรงจั่วสูงนี้ นอกจากจะสร้างความสวยงาม และ เสริมความเป็นมงคลแล้ว ยังช่วยระบายความร้อนออกจากตัวบ้านให้มาอบู่ที่หลังคา ช่วยให้อากาศภายในบ้านเย็นสบายตลอด นอกจากนี้พอเวลาที่ฝนตกลงมาจะช่วยให้น้ำไหลลงมาจากตัวบ้านได้เร็วยิ่งขึ้น 
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย3
  1. มีใต้ถุนสูงป้องกันน้ำท่วมและสัตว์ร้ายต่าง ๆ บ้านเรือนไทยนับว่าเป็นต้นกำเนิดของบ้านไม้ใน้ถุนสูงสไตล์ไทยเลยก็ว่าได้ โดยส่วนมากจะออกแบบให้มีความสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร เพื่อป้องกันภัยจากน้ำท่วม และ สัตว์ร้ายต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถใช้พื้นที่ด้านล่างในการเลี้ยงสัตว์หรือทำประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย 
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย4
  1. มีพื้นไม้เว้นร่อง เป็นอีกหนึ่งจุดที่ชวนสงสัยไม่น้อยว่าทำไมบ้านทรงไมยหรือบ้านไม้ใน้ถุนสูงแบบดั้งเดิม จะต้องมีพื้นไม้ที่เว้นร่องระยะห่างให้สามารถมองเห็นด้านล่างได้ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ เลยก็เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพราะตัวใต้ถุนสูงนั้นจะรับอากาศได้ดีอยู่แล้ว จึงทำพื้นให้เป็นร่องไม้เพื่อนดูดอากาศขึ้นมายังตัวบ้าน ทำให้ภายในบ้านเย็นสบายตลอดเวลา

และนอกจากนี้บ้านเรือนไทยเป็นบ้านเรือนใหญ่ที่รวบรวม เรือนเล็กเรือนน้อยเข้ามาไว้ด้วยกัน แต่จะมีเรือนมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับระดับฐานะของเจ้าของบ้าน แต่ส่วนประกอบหลัก ๆ ที่บ้านเรือนไมยทุกหลังจะต้องมีนั้นมีอยู่ 3 อย่าง ดังนี้ 

บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย5
  1. เรือนนอน คือส่วนที่บ้านเรือนไทยจะขาดไปไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็กหรือหลังใหญ่ ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับห้องนอนประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมีนั่นเอง โดยส่วนมากบ้านเรือนไทยจะแบ่งเรือนนอนออกไปตามจำนวนของสมาชิกในบ้าน ที่พ่อกับแม่ก็นอนร่วมากัน และ มีห้องแยกให้สมาชิกภายในบ้านที่เหลือ หากสมาชิกในบ้านมีเพิ่มมากขึ้นก็จะสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้นมาตามชานเรือนต่อ ๆ ไป จนเป็นหลังใหญ่
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย6
  1. ชานเรือน คือ รานกลางบ้านที่เป็นแหล่งทำกิจกรรมร่วมกันของเหล่าสมาชิกในครอบครัว เป็นเหมือนรานประชุมและรานกิจกรรมที่จะใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังใช้เป็นสถานที่รับรองแขกที่มาเยือนด้วยเช่นกัน 
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย7
  1. เรือนครัว หรือ ห้องครัว คือส่วนที่ทุกบ้านจะขาดไม่ได้ สำหรับบ้านเรือนไทยส่วนมากจะมีเรือนครัวที่อยู่นอกตัวบ้าน เพราะจะสามารถจัดการควันไฟได้สะดวก โดยที่ไม่รบกวนแขกและสมาชิกภายในเรือน และ เป็นพื้นฐานที่คนไทยมักจะใช้ครัวนอกบ้านทำอาหารเพื่อรับแขกอยู่เสมอ ถ้าเราสังเกตเวลาที่ไปเยือนบ้านเพื่อนต่างจังหวัดที่เขาจัดงานเลี้ยงสังสรรค์กัน ส่วนมากก็จะใช้ครัวด้านนอกทำอาหารเลี้ยงเรากันเสมอ 

บ้านเรือนไทยทั้ง 4 ภาค แตกต่างกันอย่างไร

บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย8
  1. บ้านเรือนไทยภาคเหนือ จะนิยมสร้างบ้านเป็นเรือนแฝด และจะมีหลังคาที่เตี้ยกว่าบ้านเรือนไทยของภาคอื่น ๆ แถม ตัวบ้านก็ยังถูกออกแบบมาให้ปิดมิดชิดมีช่องประตูหน้าต่างพี่เล็ก เนื่องจากเมืองเหนือนั้นเป็นพื้นที่ที่มีอากาศเย็น ทำให้ต้องการความอบอุ่นภายในตัวบ้านมากที่สุด ซึ่งบ้านทรงไทยของภาคเหนือที่เราพบเห็นกันส่วนมากจะเป็นรูปทรงล้านหน้า ที่เรียกกันว่า เรือนกาแล จะเป็นบ้านเรือนไทยที่มีความสวยหรูมาก ๆ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของเหล่าขุนนาง และ ชนชั้นสูง ซึ่งบ้านเรือนไทยทรงล้านนาจะมีจุดเด่นที่ลายแกะสลักอันสวยงามอยู่รอบตัวบ้าน ตั้งแต่ยอดจั่ว ไปจนถึงขอบรั่วและราวยีนใดเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และ เสริมบารมีให่กับผู้อาศัย ส่วนสามัญชนของเมืองเหนือก็จะใช้เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงธรรมดา 
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย9
  1. บ้านเรือนไทยภาคอีสาน สำหรับบ้านเรือนไทยของทางภาคอีสาน ถ้าเป็นเหล่าสามัญขนธรรมดาก็จะเป็นบ้านไม้ใน้ถุนสูงทั่วไป แต่ถ้าเป็นระดับขุนนางก็มักจะมีบ้านเรือนไทยที่อยู่กันริมน้ำเป็นหลัก นิยมสร้างให้บ้านมีหน้ากว้าง โดยจะหันหน้าออกไปทางทิศตะวันออกกับตะวันตก และ แนวยาวจะหันไปทางทิศเหนือกับทิศใต้ บ้านเรือนไทยของภาคอีสานจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เฮือนเกย คือบ้านเรือนเดี่ยวที่ออกแบบหลังราให้ครอบคลุมพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดจนได้ชื่อว่าเกย , เฮือนแฝด คือบ้านเรือนไทย 2 หลังที่ใช้หลังคาจั่วแนบชิดกัน มีผนังแบ่งกั้นห้อฝชัดเจน , เฮือนโข่ง จะมีลักษณะคล้ายเฮือนแฝด แต่จะเพิ่มพื้นที่ทางเดินตรงกลางหรือชานเรือนเข้ามาให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น และ สามารถเดินเขื่อมต่อไปยังเรือนต่าง ๆ ได้
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย10
  1. บ้านเรือนไทยภาคกลาง จะนิยมสร้างกันอยู่สองแบบ โดยแบบแรกจะเรียกว่าเรือนเดียวเหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็กที่มีเรือนนอนแยกกันเรือนครัวและเชื่อมด้วยชานเรือนเดียวกัน แบบที่สองคือเรือนหมู่เป็นบ้านเรือนไทยหลายหลังที่เชื่อมต่อกันส่วนมากจะพบเห็นในบ้านของมหาเศรษฐี ที่มีการตกแต่งอย่างสวยหรู และมีสมาชิกในบ้านเยอะ ลักษณะเด่นของบ้านเรือนไทยภาคกลาง คือมีหลังคาจั่วที่สูงและอ่อนโค้งงดงาม ประดับด้านจั่วด้วยหางปลา และ จะมีระเบียงเพื่อรับลมเสมอ 
บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย11
  1. บ้านเรือนไทยภาคใต้ บ้านเรือนไทยของภาคใต้จะเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากบ้านเรือนไทยของภาคอื่นๆมากที่สุดเพราะพื้นที่ของภาคใต้เป็นสถานที่ที่มีฝนตกหนักตลอดทั้งปีทำให้ผู้คนที่นี่ต้องสร้างบ้านที่มีหลังคาสูงเพื่อระบายน้ำฝนให้ไหลผ่านชายคาลงไปถึงบันได นิยมสร้างให้มีใต้ถุนสูงระดับเกิน 2 เมตรขึ้นไป นิยมนำไม้กระดานกลับไม้ไผ่ศาลหรือวัดสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่ายมาใช้ในการสร้างเรือน บ้านเรือนไทยของภาคใต้ จะแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือบ้านเรือนไทยพุทธกับบ้านเรือนไทยมุสลิมๅ โดยบ้านเรือนไทยของชาวพุทธจะมีจุดเด่นที่หลังคาปั้นหยา หรือ หลังคาทรงจั่ว ส่วนบ้านเรือนไทยของชาวมุสลิม จะมีหลังคาทรงมนิลา ภายในเปิดโล่งสบาย และ มีห้องน้อย โดยจะมีแค่ห้องที่ตำเป็นเท่านั้น 

สรุป

บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย12

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับบ้านเรือนไทย 4 ภาค ที่เราได้นำมาฝากผ่าน บ้านเรือนไทยของแต่ละภาคนั้นแตกต่างกันอย่างไร พร้อมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบ้านเรือนไทย เรื่องนี้จะเห็นได้ว่าบ้านเรือนไทยแต่ละภาค ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ นั้นมีลักษณะบ้านที่ไม่เหมือนกัน มักปลูกสร้างตามภูมิภาค คำนึงสภาพอากาศ ความเป็นอยู่ แต่จุดที่เหมือนกันเลยก็คือหลังคาบ้านที่เป็นหลังคาจั่ว ที่ระบายน้ำ และความร้อนได้ดี ต่างจากหลังคาประเภทอื่น ๆ ที่มักพบกับหลังรั่วซึม แตกร้าว หากใครที่พบปัญหานี้อยู่ควรเลือกใช้ จระเข้ ซิลิโคน ซีล เอ็น ซิลิโคนไร้กรด อุดรอยต่องานทั่วไปช่วยแก้ปัญหาชวนปวดหัวนี้บทความ youmaisuk

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> เว็บตรงสล็อต

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการแต่งบ้านแต่งสวนแนวหน้าในประเทศไทย

รวมข่าวสารบันเทิง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ