สถาปัตยกรรมภายในบ้านและที่ทำงานส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้การติดตั้งวัสดุปูพื้นด้วยลามิเนตแทนไม้จริง เนื่องจากมีลวดลายให้เลือกหลากหลาย สามารถประสานกันได้แนบสนิท และยังถือเป็นวัสดุปูพื้นที่ตอบโจทย์ผู้ที่กำลังต้องการรีโนเวทพื้นบ้านใหม่ เพราะสามารถใช้แผ่นลามิเนตที่มีลวดลายสวยงามปูทับพื้นกระเบื้องหรือพื้นบ้านเก่าได้โดยไม่ต้องรื้อ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือพื้นลามิเนตมีราคาย่อมเยาและดูแลรักษาง่ายอีกด้วย ถ้าคุณอยากลองเปลี่ยนพื้นบ้านธรรมดาให้มีลวดลายและสวยงามคล้ายกับพื้นไม้จริง ในบทความ บทความ วิธีการเลือก พื้นไม้ลามิเนต ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และ ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เรื่องนี้ เราได้นำวิธีการเลือกพื้นลามิเนตเบื้องต้นประกอบกับคำแนะนำจากนักออกแบบภายในมืออาชีพ มาฝากเพื่อน ๆ กันด้วย
พื้นไม้ลามิเนต คืออะไร
- พื้นลามิเนตหรือพื้นไม้ลามิเนต เป็นการบีบอัดไม้ด้วยความร้อนและแรงดันสูง จากนั้นจึงนำมาประกอบเข้ากับวัสดุชั้นอื่น ๆ ประมาณ 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นล่าง ชั้นแกนกลาง ชั้นลายไม้ และชั้นเคลือบผิวลวดลายไม้ด้านบนสุด โดยพื้นผิวจะมีความสวยงามเสมือนไม้จริง มีหลากหลายสีและหลากหลายลวดลายของไม้ต่างชนิด และมีการสร้างพื้นผิวที่ให้มิติความลึกและลายเส้นที่คล้ายกับไม้จริง ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกพื้นไม้ชนิดนี้ว่า Laminate ซึ่งลามิเนต ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ นั่นเอง เนื่องจากมีส่วนผสมของไม้จริง พื้นไม้ชนิดนี้จึงเหมาะในการใช้งานกับพื้นที่ภายในบ้านรวมถึงพื้นที่ร่มที่ไม่สัมผัสความชื้นโดยตรง เพราะพื้นผิวเคลือบไม่ไม่สามารถป้องกันหรือจำกัดน้ำที่ซึมลงไปในชั้นต่าง ๆ ของแผ่นไม้ได้ แต่ข้อดีของพื้นลามิเนตคือสามารถติดตั้งทับกระเบื้องหรือพื้นซีเมนต์บอร์ดได้โดยไม่ต้องจัดการรื้อถอนวัสดุเก่าเลย
วิธีการเลือก พื้นไม้ลามิเนต
- การเลือกพื้นลามิเนต นอกจากจะเลือกจากลวดลายที่ชอบแล้ว สิ่งที่ต้องใส่ใจนอกเหนือจากนี้ก็คือ พื้นที่การใช้งาน การตรวจสอบความทนทานและอัตราบวมน้ำ แล้วควรจะเลือกอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการใช้งานที่สุดลองไปดูวิธีการเลือกต่อไปนี้ได้เลย
- เลือกความหนาของพื้นลามิเนตให้เหมาะกับพื้นที่การใช้งาน
การติดตั้งพื้นลามิเนตมีความสะดวกรวดเร็วก็จริง แต่พื้นประเภทนี้มักจะมีความหนาที่แตกต่างกัน เพราะออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพการใช้งานจริง โดยจะพิจารณาและตรวจสอบจากตัวเลข 2 หลัก ต่อไปนี้
- ตัวเลขหลักแรก จะเป็นตัวบ่งบอกว่าควรใช้กับสถานที่ใด
- หมายเลข 2 บ่งบอกว่า เหมาะกับการใช้ในบ้าน หรือในพื้นที่ใช้งานน้อย
- หมายเลข 3 บ่งบอกว่า เหมาะกับใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสถานที่คนพลุกพล่าน มีการเหยียบผ่านค่อนข้างถี่
- ตัวเลขหลักสอง จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความถี่ การรับภาระจากการใช้งาน
- หมายเลข 1 บ่งบอกว่า ใช้งานน้อย เหมาะกับพื้นที่ที่มีคนเดินผ่านไม่บ่อยนัก
- หมายเลข 2 บ่งบอกว่า ใช้งานธรรมดา เหมาะกับห้องทั่วไปในบ้าน ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น
- หมายเลข 3 บ่งบอกว่า ใช้งานหนัก เหมาะกับบ้านที่มีจำนวนสมาชิกเยอะ ติดตั้งได้แทบทุกพื้นที่
- ในการอ่านค่าความเหมาะสมจากการติดตั้ง เราจะนำตัวเลขทั้ง 2 หลักมารวมกัน
- พื้นบ้านทั่วไป ควรเลือก 21, 22 และ 23
- พื้นสำนักงาน ควรเลือก 31, 32 และ 33
แต่ถ้าจะเลือกจากความหนาของพื้นลามิเนต สำหรับปูพื้นภายในบ้านนิยมเลือกใช้ 8 mm ส่วน 12 mm จะใช้ในพื้นที่สาธารณะ
- เลือกโดยตรวจสอบความทนทาน อัตราบวมน้ำที่พื้นลามิเนตรองรับได้
การใช้งานลามิเนตนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะสัมผัสความชื้นได้ทุกที่ แต่สำหรับอัตราการขยายตัวหรือการพองของพื้นลามิเนตนั้น แต่หากมีเปอร์เซ็นต์น้อยยิ่งดี เพราะบ่งบอกว่าพื้นลามิเนตที่คุณเลือกใช้นั้นมีการขยายตัวน้อยเมื่อสัมผัสกับความชื้น ซึ่งจะส่งผลต่อความโก่งแอ่นของพื้น โดยค่ามาตรฐานของการขยายตัวจะอยู่ที่ 18 – 20% แต่วิธีป้องกันการบวมน้ำที่ดีที่สุดก็คือ หลีกเลี่ยงการติดตั้งใกล้บริเวณห้องน้ำหรือพื้นที่ที่มีความชื้นสูง และควรไม่ติดตั้งบริเวณภายนอกอาคาร สำหรับค่ามาตรฐานความทนทานต่อการขูดขีดหรือ AC Rating นั้นจะแบ่งเป็น 5 ระดับ โดยจะแสดงค่าเป็น AC1 – AC5 นั่นหมายความว่ายิ่งค่า AC มาก ก็ยิ่งบ่งบอกว่าพื้นลามิเนตมีความทนทานต่อการขูดขีดสูง ซึ่งพื้นลามิเนตที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ทั่วไปควรมีค่า AC ไม่ต่ำกว่า 3
- เลือกพื้นลามิเนตที่สะดวกต่อการติดตั้ง
แต่ก่อนนี้การติดตั้งพื้นลามิเนตจะต้องใช้กาวประสานระหว่างพื้นและแผ่นไม้ในการติดตั้ง โดยจะติดตั้งในพื้นที่ที่มีความเรียบเสมอกัน และกาวดังกล่าวก็ต้องมีความยืดหยุ่นสูงตามไปด้วย แต่ปัจจุบันได้มีนวัตกรรมใหม่ที่ทำให้คุณสามารถติดตั้งพื้นลามิเนตได้ด้วยตัวเอง เพิ่มความสะดวกและพื้นมีความแนบสนิทกันยิ่งขึ้น
- แบบเข้าลิ้น ลามิเนตแบบประสานกันด้วยการเข้าลิ้นจะมีลักษณะเป็นลิ้นรองรับในมิติระนาบด้านข้างและมีร่องสำหรับรองรับลิ้นไม้ ทำให้สามารถประสานแผ่นลามิเนตได้ง่าย รับแรงยกและแรงกดในบริเวณข้อต่อได้ดี แต่ไม่สามารถรับแรงดึงจากด้านข้างได้ มีแผ่นโฟมรองรับระหว่างแผ่นไม้และพื้นผิวที่ปูเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและป้องกันความชื้นบางส่วน ลามิเนตชนิดเข้าลิ้นมีข้อดีคือถอดหรือซ่อมบำรุงได้ง่ายโดยไม่ทำให้แผ่นลามิเนตแผ่นอื่นที่อยู่โดยรอบได้รับความเสียหาย
- แบบ Click Lock จะประสานกันด้วยลิ้นรูปตัว L ลิ้นตัวผู้อาจมีร่องหรือการปั๊มนูนหลายชั้น เพื่อให้จับยึดกับร่องของอีกแผ่น ในการปูแผ่นลามิเนตประเภทนี้จะต้องยกเอียงและผลักลิ้นให้เข้าประสานกัน แล้วกระแทกเข้าให้แน่นสนิทกัน โดยไม่ต้องใช้กาว แต่ยังจำเป็นต้องใช้แผ่นโฟมรองรับระหว่างแผ่นไม้และพื้นผิวที่ปูเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและป้องกันความชื้นบางส่วน มีข้อดีคือยึดติดแน่นหนา แต่ในการซ่อมแซมจำเป็นจะต้องรื้อหรือทำการกรีดลิ้นบางตัว
วิธีการดูแลพื้นลามิเนตให้คงความสวย มีอายุการใช้งานยาวนาน
พื้นลามิเนตเป็นวัสดุปูพื้นที่ไม่ค่อยทนทานต่อความชื้น วิธีการดูแลให้พื้นคงความสวย มีอายุการใช้งานที่ยาวนานจึงต้องมีวิธีที่ต่างจากพื้นทั่วไปเล็กน้อย
- ทำความสะอาดเพียงสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอแล้ว โดยสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาดเล็กน้อย จากนั้นบิดหมาด ๆ แล้วนำไปทำความสะอาดได้ตามต้องการ
- รีบเช็ดให้แห้งทันทีหากมีน้ำหกใส่พื้น เพราะหากคุณทิ้งไว้นานน้ำอาจจะซึมเข้าไปในรอยต่อของแผ่นลามิเนตจนทำให้พื้นบวมน้ำและเสียหายได้
- รองผ้าก่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ ในกรณีที่ต้องการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ควรใช้ผ้ารองฐานเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นก่อนที่จะเลื่อนเพื่อเคลื่อนย้าย นั่นก็เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนที่อาจเกิดขึ้น
- ไม่ควรใช้ขี้ผึ้งขัดไม้ น้ำยาขัดพื้นที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง เพราะอาจทำให้พื้นผิวของลามิเนตเสียหายได้
สรุป
แม้ว่าแผ่นพื้นลามิเนตในบางรุ่นที่มีลิ้นแบบคลิกล็อกจะไม่จำเป็นต้องทากาวในการติดตั้ง แต่ในบางจุดที่เป็นพื้นที่ลาดเอียงหรือพื้นที่รับแรงสไลด์มากเป็นพิเศษก็สามารถเลือกใช้กาวซิลิโคนในการยิงขอบให้ยึดติดกับผนังเพื่อป้องกันการลื่นหลุดและป้องกันเสียงจากพื้นที่ไม่เรียบเสมอกัน หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเปียกและน้ำยาเคมีในกลุ่มสารทำละลายเรซิ่นเพราะจะทำให้แผ่นลามิเนตโป่งพองเสื่อมสภาพได้ และสุดท้ายก่อนจากกันเราหวังว่า บทความ วิธีการเลือก พื้นไม้ลามิเนต ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และ ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนที่ได้เข้ามารับชมกันนะครับ