สิ่งที่ควรต้องรู้ก่อนซื้อพร้อมวิธีการเลือก โคมไฟตั้งโต๊ะในห้อง สำหรับอ่านหนังสือเพื่อถนอมสายตาและสุขภาพ 

โคมไฟตั้งโต๊ะในห้อง

สารบัญ

เคยไหมครับเวลาที่เราอ่านหนังสือ หรือ เวลาที่กำลังทำงานอยู่บนโต๊ะทำงาน โดยมีเพียงแค่แสงไฟเพดานช่วยส่องสว่างให้เท่านั้น ก็มักจะชอบรู้สึกปวดตา ปวดหัว และ มักจะทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ไม่ได้ เพราะปัญหาเหล่านี้ นั่นอาจจะเกิดมาจากการที่แสงสว่างที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ จนทำให้เราต้องใช้สายตาหนักมากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา ในวันนี้เราจึงอยากจะมาแนะนำสิ่งดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนกันผ่านบทความ สิ่งที่ควรต้องรู้ก่อนซื้อพร้อมวิธีการเลือก โคมไฟตั้งโต๊ะในห้อง สำหรับอ่านหนังสือเพื่อถนอมสายตาและสุขภาพ  เรื่องนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคนรักการอ่านทุกคนครับ ซึ่งจะมีรายละเอียดและสิ่งที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เราไปรับชมกันเลยครับ

วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 

วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • การจะเลือกโคมไฟที่เหมาะกับการทำงานหรืออ่านหนังสือของคุณได้นั้น จำเป็นต้องเข้าใจถึงความแตกต่างและข้อดีข้อเสียของโคมไฟแต่ละแบบก่อน เพื่อที่เราจะได้เปรียบเทียบโคมไฟแต่ละรุ่นก่อนการตัดสินใจซื้อให้ได้มากที่สุด
  1. เลือกชนิดของโคมไฟสำหรับอ่านหนังสือตามการใช้งาน วิธีการติดตั้งโคมไฟก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งในการเลือกซื้อโคมไฟ โดยควรคำนึงถึงการใช้งานของตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งโคมไฟอ่านหนังสือที่มีให้เห็นส่วนใหญ่จะเป็นแบบตั้งโต๊ะ, ติดกับโต๊ะ, แบบหนีบ และแบบไร้สาย ไปดูกันเลยค่ะว่าแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • โคมไฟชนิดวางตั้ง ใช้งานกันมากที่สุดเหมาะกับโต๊ะที่มีพื้นที่มาก โคมไฟตั้งโต๊ะชนิดวางตั้งนี้เป็นแบบที่คุ้นตากันมากที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโคมไฟไว้อ่านหนังสือ ทำงาน หรือแม้แต่ให้เด็กทำการบ้าน เพราะเป็นชนิดที่ใช้งานง่าย ให้แสงสว่างอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงเพราะมีฐานตั้งที่แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายเพื่อปรับเปลี่ยนบรรยากาศของโต๊ะหนังสือ อีกทั้งบางรุ่นยังสามารถปรับทิศทางของแสงไฟได้อย่างอิสระอีกด้วย
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • โคมไฟแบบยึดเข้ากับโต๊ะ ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยไม่เปลืองพื้นที่ใช้สอย โคมไฟชนิดนี้เป็นแบบที่เหมาะสมกับคนที่มีพื้นที่โต๊ะหนังสือ/โต๊ะทำงานจำกัด โดยจะมีตัวหนีบสำหรับยึดติดเข้ากับขอบโต๊ะจึงไม่กินพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะ แต่ข้อเสียคือบางครั้งอาจเคลื่อนย้ายไม่สะดวก เพราะบางรุ่นอาจต้องใช้น็อตยึดติดหรือใช้สกรูยึดติด นอกจากนี้ ยังไม่เหมาะกับโต๊ะบางประเภท เช่น โต๊ะกระจก เพราะโคมไฟหนีบแบบนี้จะมีความหนัก ต้องใช้แรงยึดสูง และช่องกว้างสำหรับยึดนั้นออกแบบมาอย่างจำกัด ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อจึงควรตรวจสอบลักษณะของโต๊ะทำงานของคุณให้ดีเสียก่อน รวมถึงควรวัดขนาดหน้าโต๊ะเพื่อนำไปเทียบความกว้างของตัวยึดหรือหนีบ
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • โคมไฟแบบคลิปหนีบ เป็นโคมไฟที่เคลื่อนย้ายง่ายมีน้ำหนักเบา ปรับเปลี่ยนทิศได้ตามความต้องการ โคมไฟแบบคลิปหนีบเหมาะกับคนที่ชอบเคลื่อนย้ายพื้นที่การทำงานและโต๊ะที่มีหน้าโต๊ะไม่กว้างมากนัก ตัวโคมไฟถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา มีตัวยึดเป็นคลิปหนีบซึ่งติดตั้งและถอดออกได้ง่าย สามารถย้ายสถานที่ที่จะใช้งานได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องหนังสือ หรือห้องนั่งเล่น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้หนีบเข้ากับหัวเตียงหรือชั้นวางของได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เวลาที่เลือกซื้ออย่าลืมตรวจสอบความหนาของตัวหนีบให้ดีด้วยว่ามีขนาดพอดีกับสิ่งที่คุณต้องการยึดหรือไม่
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • โคมไฟแบบไร้สาย เป็นโคมไฟที่พกพาสะดวกใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา โคมไฟชนิดนี้เหมาะกับการพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ ใช้งานในบริเวณที่ไกลจากปลั๊กไฟ หรือมีปลั๊กไฟไม่เพียงพอ โดยมีให้เลือกทั้งแบบใช้ถ่านก้อน และแบตเตอรี่ชาร์จไฟ ข้อดีของโคมไฟแบบไร้สายคือ มีความสะดวกเป็นอย่างมาก เพราะสามารถใช้งานได้ทุกสถานที่ทุกเวลาที่ต้องการ โดยโคมไฟแบบใช้สาย USB ที่สามารถต่อกับเพาเวอร์แบงค์หรือคอมพิวเตอร์ในการชาร์จไฟได้ จะเป็นแบบที่ค่อนข้างสะดวกและใช้งานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่หมด นอกจากนี้ โคมไฟแบบไร้สายยังมีให้เลือกหลากหลายขนาด ให้คุณได้เลือกใช้ตามต้องการบางรุ่นสามารถหนีบกับหนังสือหรือโต๊ะเล็ก ๆ ได้เพื่อให้คุณใช้อ่านหนังสือหรือทำงานบนเตียงนอนหรือในพื้นที่ที่จำกัดได้
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  1. เลือกโคมไฟอ่านหนังสือจากประเภทของหลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง สำหรับโคมไฟอ่านหนังสือสามารถแบ่งอย่างคร่าว ๆ ได้ 2 แบบ คือ แบบที่ใช้หลอดไฟ LED และหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) ซึ่งเราจะมาอธิบายความแตกต่าง รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละประเภทให้ทุกคนได้อ่านกัน ดังนี้
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • หลอดไฟ LED ให้ความสว่างได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า โคมไฟที่ใช้หลอด LED มีข้อดีที่เด่นชัดมากในแง่ของการให้แสงสว่างยาวนาน และประหยัดพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งมีอายุการใช้งานยาวนานยาวนานถึง 40,000 ชั่วโมง ในขณะที่หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์มีอายุการใช้งานเพียง 3,000 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์กว่า 10 เท่าเลยทีเดียว ส่วนในเรื่องการให้แสงสว่างนั้น หลอด LED มีคุณสมบัติส่องสว่างและกระจายแสงได้ดีกว่าแบบฟลูออเรสเซนต์ โดยให้ความสว่างคงที่ แสงไฟไม่ตก เหมาะกับการใช้อ่านหนังสือทั่วไปตลอดจนตัวหนังสือขนาดเล็ก ที่สำคัญหลอดไฟไม่ร้อนเพราะไม่มีการเผาไหม้เพื่อให้แสงสว่างเหมือนกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ จึงปลอดภัยและสามารถใช้กับโต๊ะเรียนหนังสือของเด็กได้
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ ให้แสงฟุ้งกระจาย อายุการใช้งานสั้น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นชนิดที่นิยมใช้งานมาก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนา LED ขึ้น ซึ่งหลอดไฟประเภทนี้จะให้แสงสว่างจ้าเหมาะกับผู้ทำงานออกแบบที่ต้องการเห็นเส้นและสีสันต่าง ๆ แบบคมชัด แต่ข้อเสียของการใช้หลอดไฟประเภทนี้คือแสงสว่างที่ได้จะเป็นแบบฟุ้งกระจาย 360 องศา ทำให้สะท้อนเงาตัวหนังสือจนสายตาต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อโฟกัสภาพ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อดวงตาในระยะยาวได้ และมีความร้อนสูง นอกจากนี้ อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์สั้นกว่าหลอด LED มาก จึงต้องเสียเงินเปลี่ยนหลอดไฟใหม่บ่อย ๆ อีกทั้งในหลอดฟลูออเรสเซนต์ยังมีสารปรอทที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันส่วนใหญ่จึงไม่นิยมใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์กัน
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  1. เลือกความสว่างของแสงให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือ การใช้งานโคมไฟให้เกิดประสิทธิผลดีเยี่ยมต้องคำนึงถึงเรื่องการถนอมสายตาเป็นสำคัญ โดยก่อนตัดสินใจซื้อโคมไฟรุ่นใด ๆ ต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไป เช่น แสงไฟ, ระดับความสว่าง, โทนของแสง เป็นต้น
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • ค่าแสดงความสว่างของหลอดไฟ ค่าแสดงความสว่าง หรือ “ลูเมน (lm)” เป็นค่าที่ยิ่งมากเท่าไรหลอดไฟก็จะยิ่งให้ความสว่างได้มากเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ค่าดังกล่าวมักจะถูกระบุอยู่ที่ข้างกล่อง สำหรับค่าความสว่างที่เหมาะสมกับการอ่านหนังสือจะอยู่ที่ประมาณ 300 – 400 lm (ลูเมน) ซึ่งเป็นความสว่างที่กำลังพอดีกับสายตา ไม่มืดหรือสว่างเกินไปจนทำให้สายตาต้องทำงานหนัก แต่ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ก็ให้เลือกหลอดไฟที่มีความสว่างประมาณ 30 – 40 วัตต์
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • ค่าส่องสว่าง (Illuminance) ค่าส่องสว่าง หรือ ค่า Illuminance สำหรับการอ่านเขียนหนังสือ, ทำงานเอกสาร หรืองานพิมพ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ จะอยู่ที่ 400-500 lx ส่วนงานที่ต้องการความละเอียดสูงอย่างงานออกแบบ หรือเขียนแบบที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกที่มีค่าส่องสว่างประมาณ 600-700 lx ขึ้นไป ตามการอ้างอิงจากมาตรฐานของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Safety and Health) ที่เป็นหน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก ดังนั้น ค่าส่องสว่างที่ถนอมสายตาและเหมาะสมกับการอ่านหนังสือ จะอยู่ที่ประมาณ 500 lx ซึ่งเป็นความสว่างที่ช่วยให้อ่านตัวหนังสือขนาดเล็ก หรือใช้สายตาเป็นเวลานานได้โดยไม่ทำให้ปวดตา แต่ถ้ายังรู้สึกว่าแสงมืดเกินไป ก็สามารถปรับเพิ่มค่าความสว่างนี้ขึ้นได้อีกตามต้องการ เมื่อได้รู้จักกับค่านี้แล้วก็อย่าลืมเลือกให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่จะใช้งานกันด้วยนะ
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  1. เลือกสีของแสงไฟให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้สายตาทำงานหนักเกินไป นอกจากความสว่างแล้ว สีของแสงไฟก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำงานของสายตา จึงควรคำนึงถึงสีของแสงไฟให้เหมาะสมกับการอ่านหนังสือ เพื่อไม่ให้สายตาต้องทำงานหนักจนเกินไป
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • สีของหลอดไฟ หน่วยวัด ra เป็นค่าดัชนีความถูกต้องของสีจากดวงไฟ (Color rendering index/CRI) มีค่าไม่เกิน 100 ra โดยยิ่งค่าสูงเท่าไรก็จะยิ่งใกล้เคียงกับแสงพระอาทิตย์ ซึ่งส่งผลให้ดวงตาเหนื่อยล้าได้ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าค่าต่ำเกินไปก็จะทำให้แสงสีที่ได้ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ และไม่เป็นไปตามจริง ดังนั้น หากให้ระบุเฉพาะเจาะจงค่าที่เหมาะสมกับการเรียน เขียน-อ่านหนังสือมากที่สุดก็ควรอยู่ที่ 80 ra เพราะเป็นค่าที่แม้ใช้งานต่อเนื่องยาวนานก็ไม่ทำให้ดวงตาอ่อนล้า สายตาไม่เสียจากการใช้งานหนัก
วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 
  • อุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) อุณหภูมิสีของแสง มีหน่วยวัดเป็น k ที่มาจากองศาเคลวิน โดยเป็นค่าที่ทำให้สีของแสงไฟแตกต่างกัน และจะส่งผลต่อการทำงานของสายตาโดยตรง ซึ่งอุณหภูมิสีที่เหมาะกับการอ่านหนังสือและช่วยถนอมสายตาได้ควรจะอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 6,000 k เพราะจะให้แสงโทนสีอ่อน ๆ ที่อบอุ่นกำลังดี ไม่เหลืองเกินไปจนทำให้ง่วงนอน หรือขาวสว่างจนปวดตา อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิสีที่แต่ละคนชอบนั้นอาจแตกต่างกันไปเพราะการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกโคมไฟที่สามารถปรับสีได้ตามต้องการเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น

สรุป

วิธีการเลือกโคมไฟอ่านหนังสือ 

แล้วก็จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อนเรียกได้ว่าจัดหนักจัดเต็มแบบอัดความรู้กันแน่น ๆ ไปเลย กับ บทความ สิ่งที่ควรต้องรู้ก่อนซื้อพร้อมวิธีการเลือก โคมไฟตั้งโต๊ะในห้อง สำหรับอ่านหนังสือเพื่อถนอมสายตาและสุขภาพ  เรื่องนี้ ที่พอทุกคนรู้ความแตกต่างของโคมไฟอ่านหนังสือและแสงไฟที่เหมาะสมแล้ว หากเป็นไปได้ก็อยากแนะนำให้ทุกคนเลือกใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ เนื่องจากหลอดไฟ LED สามารถประหยัดพลังงานได้ดีกว่า อีกทั้งยังไม่เกิดประจุความร้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังเมื่อสัมผัสโดน รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายกับดวงตาและร่างกายน้อยกว่าหลอดที่มีสารปรอทอีกด้วย

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการแต่งบ้านแต่งสวนแนวหน้าในประเทศไทย

รวมข่าวสารบันเทิง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพ