
การตัดสินใจครั้งใหญ่อย่างเช่นการได้ซื้อบ้านสักหลังนั้น หลายคนยังกังวลและหนักใจอยู่ว่าบ้านที่เราจะซื้อนั้นควรตัดสินใจเลือกจากอะไรดี เพราะถ้าได้ตัดสินใจไปแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข หลาย ๆ คนอาจจะมีเหตุุผลที่ควรซื้อบ้าน/เช่าบ้านในใจอยู่แล้ว เช่น จำเป็นต้องย้ายสถานที่ทำงาน ต้องการสร้างครอบครัว สมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น ต้องการพื้นที่ใช้สอยในบ้านที่มากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามเราได้รวบรวมข้อดีข้อเสียของการเลือกซื้อบ้านหรือเช่าบ้าน เพื่อให้คุณได้ใช้เป็นตัวช่วยตัดสินใจและเป็นข้อมูลเพิ่มเติมด้วย เรามาลองดูไปพร้อม ๆ กันเลย
“ซื้อถูกกว่าเช่า” เราอาจเคยได้ยินคำเหล่านี้มาบ้างและบางครั้งมันได้สร้างแรงกระตุ้นให้เราเปลี่ยนใจจากเช่าไปเป็นซื้อไปโดยปริยาย บางคนเพียงต้องการเช่าเพื่อย้ายที่ทำงานจากทีหนึ่งไปอีกที่หนึ่งเท่านั้น กรณีนี้ถ้าไม่ได้หวังจะว่าจะลงหลักปักฐานบริเวณนั้นก็ยังไม่ควรซื้อ เพราะเราก็อาจจะมีโอกาสที่ต้องย้ายไปอาศัยบริเวณอื่นอีก ซึ่งก็จะกลายเป็นว่าเสียเงินจำนวนนั้นไป และเมื่อซื้อแล้วจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมา เช่น ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าส่วนกลาง ค่าดอกเบี้ยบ้าน ค่าประกันบ้าน ค่าซ่อมแซมและค่าดูแลส่วนอื่นอีกมากมาย หากแต่ในกรณีที่จะไม่ได้อาศัยอยู่เองหรืออาศัยเองเป็นครั้งคราว ในช่วงเวลาที่บ้านว่างก็ปล่อยเช่าหรือจะทำร้าน ทำออฟฟิศ สำนักงาน ก็เหมาะแก่การซื้อขาด เพราะในอนาคตอาจเกิดการถูกเก็บค่าเช่าแพงขึ้นหรืออาจโดนบอกเลิกสัญญาได้ ทั้งนี้การจะซื้อหรือจะเช่าให้เราเป็นคนตัดสินใจจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างเพิ่มเติม เช่น ทำเลที่ซื้อ/เช่านั้นเหมาะแก่การอยู่อาศัยหรือทำธุรกิจหรือไม่ งบประมาณมีเพียงพอหรือไม่ มีแผนการในอนาคตกับบ้านหลังนี้หรือไม่ ราคาที่ดินเท่าไร แล้วอนาคตราคาที่ดินสูงพอให้ทำกำไรขายต่อได้หรือไม่ เป็นต้น
ประเภท | ข้อดี | ข้อเสีย |
ซื้อ | – เป็นเจ้าของเอง – นำค่าผ่อนบ้านไปลดหย่อนภาษีได้ | – มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าเช่า
|
เช่า | – ไม่ต้องคิดมากหากย้ายที่อยู่ใหม่ | – ไม่สามารถเป็นข้าวของได้ |
ก่อนจะตัดสินใจซื้อบ้านนั้น เชื่อว่าหลายคนต้องมีแรงจูงใจและมูลเหตุกันมาก่อน อาจจะมาจากการที่ต้องการขยายครอบครัว มีสมาชิกเพิ่มขึ้น ต้องการเก็บไว้เป็นที่อยู่อาศัย ต้องการซื้อไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานก็ได้ ถ้ามีแรงจูงใจกันแล้วเรามาลองดูเรื่องเหตุผลที่ควรรู้ก่อนจะเลือกซื้อหรือเช่าบ้านกันเลย
หลายครอบครัวประสบปัญหากับขนาดพื้นที่ในบ้านไม่พอต่อการอยู่อาศัย อาจมาจากสิ่งของที่เริ่มเยอะขึ้น สมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การที่มีผู้สูงอายุและผู้ทุพลภาพอยู่ร่วมด้วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมายเหล่านี้ทำให้ลดพื้นที่ใช้สอยของบ้านลง ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือต้องเพิ่มพื้นที่ในบ้านให้มากขึ้น เช่นการต่อเติมพื้นที่ว่าง การต่อเติมชั้นที่สูงขึ้น หรือการซื้อ/เช่าที่ดินบริเวณใกล้ ๆ เพื่อต่อเติม แต่ในบางครอบครัวนั้นมีพื้นที่ที่จำกัดและไม่สามารถขยับขยายออกนอกบริเวณได้ จึงจำเป็นต้องซื้อบ้านใหม่ บ้านมือสองหรือเช่าบ้านหลังอื่นอยู่ หากลองมองในระยะยาว(หลายปีขึ้นไป) ถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยังคงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่เยอะมากขึ้น ก็ควรต้องซื้อบ้าน/เช่าบ้านจึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
พื้นที่ใช้สอยในบ้านสำหรับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
จำนวนสมาชิกในบ้าน | ขนาดพื้นที่ |
1 คน | 22 ตร.ม. ขึ้นไป |
2 คน | 34 ตร.ม. ขึ้นไป |
3 – 4 คน | 175 ตร.ม. ขึ้นไป |
*เป็นแค่การคำนวณพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านโดยคร่าวเท่านั้น
สำหรับในกรุงเทพหรือตามหัวเมืองใหญ่ของจังหวัดนั้น มักจะมีสภาพจราจรที่หนาแน่น การเดินทางใช้เวลานาน ผู้คนส่วนใหญ่จึงพากันหาที่อยู่อาศัยใกล้สถานที่ทำงาน หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ต้องติดถนนใหญ่ ใกล้รถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน แหล่งธุรกิจ โรงพยาบาลและแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะสามารถลดระยะเวลาการเดินทางได้และยังช่วยเพิ่มเวลาในการพักผ่อนมากขึ้นด้วย หากจะหาถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องใช้การเดินทางเป็นอีกตัวเลือก คำตอบคือ “ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง” นั่นเอง ลองเปรียบเทียบดูระหว่างค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้านว่าแบบไหนที่เหมาะกับการดำเนินชีวิตประจำวันมากกว่ากัน ยิ่งถ้าหากคุณจำเป็นต้องย้ายสถานที่ทำงานด้วยแล้วเหตุผลข้อนี้จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความสำคัญมากเลยทีเดียว
โดยมีระยะเวลาในการเดินทางที่เหมาะสม
ประเภทการเดินทาง | ระยะเวลา |
ระยะเวลาต่อ 1 เที่ยว | ไม่ควรเกิน 30 นาที |
ระยะเวลาต่อ 1 วัน | ไม่ควรเกิน 60 นาที |
*ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางและสภาพจราจรด้วย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 20% ของเงินเดือน
เงินเดือน(บาท) | ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง(บาท)/เดือน |
15,000 | 3,000 |
20,000 | 4,000 |
25,000 | 5,000 |
30,000 | 6,000 |
40,000 | 8,000 |
หนึ่งเหตุผลที่สร้างความหนักใจสุด ๆ ต้องยกให้ข้อนี้ หลายคนประสบปัญหากู้ธนาคารไม่ผ่านและอีกหลายคนกู้ซื้อบ้านผ่านแล้วแต่ก็พบปัญหาได้เช่นกัน ในยุคที่เป็นโอกาสทองของผู้บริโภคตอนนี้ ทั้งบริษัทอสังหาฯ เอง ธนาคารเอง รวมถึงภาครัฐต่างพากันออกโปรโมชั่นและมาตรการในการช่วยเหลือให้ผู้ที่มองหาที่อยู่อาศัยได้มีบ้านกันง่ายขึ้น แต่ก็เหมือนดาบสองคมในกรณีของผู้ที่กู้ผ่านแล้ว รับมอบห้องแล้ว ประสบปัญหาบางประการทำให้ผ่อนต่อไม่ไหวอาจจะมาจากการเกิดค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง เช่น สถานการณ์โควิด 19(ไวรัสโคโรนา) ทำให้มีผลกระทบต่อรายได้ ค่าดอกเบี้ยบ้านที่มากขึ้นทุกปี หรือเมื่อซื้อบ้านแล้วเกิดมีการชำรุดทั้งแผลเล็ก แผลใหญ่ ก็ต้องเสียเงินมาซ่อมแซม หรืออาจเกิดเหตุฉุกเฉินต้องนำเงินจ่ายค่างวดผ่อนบ้านมาใช้ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยตนเองทั้งนั้น ในทางที่ดีก่อนทำการซื้อบ้าน/เช่าบ้าน ให้เราทำแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อดูรายรับ รายจ่าย เงินเก็บ เงินออม หรือเงินก้อนสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ปี
โดยมีวิธีการคำนวนจำนวนวงเงินกู้ดังนี้
(1,000,000 x เงินเดือน) / 7,000 = วงเงินกู้สูงสุด |
และตารางนี้จะแสดงให้เห็นโดยคร่าว ๆ ว่า เงินเดือนเท่าไรจะสามารถกู้ซื้อบ้านได้เท่าไรและควรมีเงินเก็บสำรองไว้ประมาณกี่บาท
เงินเดือน | จำนวนเงินผ่อนต่องวดสูงสุดต่อเดือน | วงเงินกู้สูงสุด | เงินสำรองฉุกเฉิน 1 ปี |
15,000 | 6,000 | 1,000,000 | 180,000 |
20,000 | 8,000 | 1,300,000 | 240,000 |
25,000 | 10,000 | 1,600,000 | 300,000 |
30,000 | 12,000 | 2,000,000 | 360,000 |
35,000 | 14,000 | 2,300,000 | 420,000 |
40,000 | 16,000 | 2,600,000 | 480,000 |
เป็นอีกแรงจูงใจในการซื้อบ้านเลยก็ว่าได้ เมื่อบ้านเก่าหลายสิบปีเริ่มมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมากขึ้น ซ่อมนิดซ่อมหน่อยสะสมกันไปก็ทำให้กระเป๋าแห้งได้เหมือนกัน หลายครอบครัวเลือกที่จะทำการรีโนเวทใหม่ทั้งห้อง หรือทั้งหลัง ซึ่งก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายหลายส่วนและค่อนข้างใช้เวลานาน เพราะนอกจากจะต้องเสียค่ารีโนเวทบ้านแล้ว ก็อาจจะต้องเสียค่าเช่าบ้านในการที่ย้ายไปอาศัยที่อื่นก่อนชั่วคราวจนกว่าบ้านจะเสร็จ บางครั้งการรีโนเวทก็ไม่สามารถทำตามความต้องการได้ทั้งหมด เพราะอาจผิดกฏหมายได้ เช่น การต่อเติมต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้าน ต้องเหลือพื้นที่บริเวณรอบตัวบ้าน/อาคาร เป็นต้น แต่หลายครอบครัวก็เลือกที่จะซื้อบ้านใหม่เลยหรือเลือกที่จะเช่าบ้านไปเลย ในกรณีแบบนี้ถ้าเรามีเพื่อนบ้าน มีสังคม มีบรรยากาศโดยรอบที่ดี หรืออยู่กันแบบชุมชมคนไทยสมัยก่อนคืออยู่กันแบบเครือญาติในบริเวณใกล้กันหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นผลดีมากกว่าผลเสียก็ให้ทำการรีโนเวทดีกว่า
อายุเฉลี่ยของบ้านแต่ละแบบ
ประเภทบ้าน | อายุโดยเฉลี่ย (ปี) |
บ้านปูน | 100 ปี |
บ้านไม้ | 100 ปี |
บ้านน็อคดาวน์ | 50 ปี |
*ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น การดูแลรักษา สภาพแวดล้อม ปัญหาทางธรรมชาติ การต่อเติม
ในปัจจุบันลักษณะรูปทรงบ้านแต่ละหลังในหมู่บ้านจัดสรรไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือแม้แต่ทาวน์โฮม ก็มีรูปแบบและสไตล์บ้านที่ถูกใจผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งแนว Modern, Minimal, Luxury และคลาสสิคเป็นต้น และยังมีฟังก์ชั่นแบบใหม่ที่ตอบโจทย์เราได้มากกว่าอย่าง Smarthome ที่สามารถสั่งใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่าน Smartphone มีระบบรักษาความปลอดภัย ล็อกประตูอัตโนมัติ ตรวจจับการเข้าออกบ้านได้ หรือจะเป็น Eco-home บ้านรักษ์โลกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่เน้นติดตั้งและออกแบบให้แสงจากภายนอกเข้าสู่ในบ้าน ลดการใช้แสงจากไฟฟ้าได้หลายหน่วยเลยทีเดียวและสามารถลดขยะที่มาจากหลอดไฟได้อีกด้วย บ้านที่สร้างใหม่นี้ยังรองรับเทคโนโลยีในล้ำ ๆ ในอนาคตได้อีกด้วย
การกู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาผ่อนไม่เกิน 30 ปีหรือแล้วแต่กรณี ซึ่งยิ่งยื่นกู้เร็วเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น โดยมีสูตรคำนวณคร่าว ๆ ดังนี้
อายุ – อายุงาน = ระยะเวลาในการผ่อนชำระ |
ตัวอย่างเช่น หากคุณอายุ 25 เพิ่งเรียนจบและเพิ่งเริ่มทำงาน ก็จะสามารถผ่อนได้ 35 ปีโดยประมาณ และยิ่งยื่นกู้เร็วก็ยิ่งดี เป็นเพราะยิ่งอายุมากขึ้นระยะเวลาในการผ่อนชำระยิ่งน้อยลง โอกาสได้รับดอกเบี้ยพิเศษตามมาตรการธนาคารก็น้อยลง และที่สำคัญโอกาสที่คุณจะได้บ้านดี ๆ ทำเลโดน ๆ ที่เล็งไว้ก็อาจจะมีคนจับจองไปก่อนคุณเลยก็เป็นไปได้
หลายคนมองเห็นโอกาสในการทำ Passive income ทั้งอยู่อาศัย ทั้งทำธุรกิจไปด้วย การเลือกซื้อบ้านจึงควรนึกถึงปัจจัยนี้เป็นปัจจัยร่วม รายได้เสริมตรงนี้คุณสามารถอาศัยอยู่ในบ้านโดยมีงานประจำไปด้วยและยังหารายได้จากบ้านคุณไปด้วยก็ได้ หลายคนใช้วิธีเปิดบ้านเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ live สดขายของออนไลน์ ทำเป็นคลังเก็บสินค้า หรือทำเป็นสำนักงานไปเลยก็มี ฉะนั้นแล้วหากคุณต้องการซื้อบ้านหรือเช่าบ้านหลังใหม่อย่าลืมนึกถึงข้อนี้เพราะในอนาคตอาจทำการปรับปรุง ต่อเติมบ้านใหม่ เพื่อหารายได้เสริมเพิ่มเติม
ข่าวการจี้ ปล้น มีให้เห็นกันทุกวันจริง ๆ ยิ่งสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ด้วยแล้วก็ยิ่งอันตราย บ้านใครทั้งเข้าซอยลึก ทั้งมืด ทั้งเปลี่ยว คิดแล้วเสียวโดนปล้นมาก ปล้นแค่ทรัพย์สินยังถือว่าโชคร้าย แต่ไม่โชคร้ายเท่าโดนทำร้ายร่างกายอาจถึงขั้นเจ็บตัวหรือเสียชีวิต แม้แต่ตอนที่เราไม่อยู่บ้านหรือนอนหลับก็อาจโดนโจรงัดบ้าน ขโมยของมีค่าไปด้วยก็ได้ ดังนั้นแล้วการซื้อบ้านหรือเช่าบ้านอื่นเป็นทางออกที่ดีที่สุด วิธีการซื้อบ้านหรือวิธีเลือกบ้านเช่า แนะนำให้เลือกในหมู่บ้านที่มีการรักษาความปลอดภัยที่ดีและเข้มงวด รั้วบ้านสูง ประตูหน้าต่างปิดมิดชิด ตัวบ้านไม่ควรอยู่ในซอยลึกเกินไป มีไฟทางส่องสว่าง มีกล้องวงจรปิดเป็นระยะ สภาพแวดล้อมรอบบ้านควรเป็นแหล่งชุมชนใหญ่ มีเพื่อนบ้านที่สามารถพึ่งพาอาศัยได้ เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการเช่าบ้านนั้นแน่นอนว่าวิธีการเลือกก็คล้าย ๆ กันกับการซื้อบ้าน จะแตกต่างกันเพียงบางจุดเท่านั้น หลัก ๆ เลยก็คือการสืบข้อมูลบ้านที่สนใจเช่าก่อน ไม่ใช่แค่เรื่องลี้ลับเท่านั้น ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบข้าง ผู้เช่าเก่าอาจทิ้งปัญหากับเพื่อนบ้านไว้ หรือเพื่อนบ้านอาจเป็นคนสร้างปัญหาจนต้องย้ายออกไปนั่นเอง หากไม่อยากย้ายบ้านบ่อยแนะนำให้สืบข้อมูลก่อนเช่า ต่อมาสำรวจสภาพบ้านที่ให้เช่า ต้องอยู่ในสภาพดี พร้อมเข้าอยู่ หากมีเฟอร์นิเจอร์พร้อมอยู่แล้วยิ่งดี เนื่องจากเราจะได้ไม่ต้องเสียเงินในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงสัญญาต่าง ๆ ที่ต้องอ่านให้ละเอียด หากเจอเจ้าของบ้านเช่าที่ซื่อสัตย์ก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าเจอเจ้าของบ้านเช่าที่หมกเม็ดก็อาจโดนโกงได้ง่าย ๆ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด “เหตุุผลที่ควรซื้อบ้าน” เหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อบ้านหรือเช่าบ้านได้ง่ายขึ้น โดยคำนึงถึงข้อดีข้อเสียของการเลือกซื้อบ้านเป็นหลัก หากคุณกำลังเจอกับปัญหาในข้อใดข้อหนึ่ง ให้ลองเปรียบเทียบและเขียนเหตุผลทั้ง 9 ข้อนำไปปรึกษากับครอบครัว เพื่อน หรือปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้การตัดสินใจนั้นดีขึ้นได้
ข้อมูลเพิ่มติม :